วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
วันจันทร์ ที่ 31 ตุลาคม 2559

วันนี้เมื่อปั๊มใบเข้าเรียนเรียบร้อยแล้ว อาจารย์จึงเริ่มต้นการเรียน

           อาจารย์ถามนักศึกษาว่า "ทำไมต้องจัดกิจกรรมบูรณาการ"


              ครูควรจัดกิจกรรมให้มีความหลากหลายทั้งวัสดุ อุปกรณ์ วิธีการ เพื่อให้เด็กมีโอกาสได้ริเริ่มและนำไปสู่การมีความคิดสร้างสรรค์ เช่น เมื่อเกิดการริเริ่ม เด็กได้ฝึกฝนมากๆบ่อยก็จะเกิดเป็นความคล่องเเคล่ว เมื่อคล่องเเคล่วก็เกิดการยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยน เเละสุดท้ายนำไปสู่ความคิดละเอียดละออ เหมือนกับการขี่จักรยานนั่นเอง

            ต่อมา อาจารย์ให้คิดสิ่งประดิษฐ์ที่เราจะนำมาสร้างสรรค์ได้ เพื่อนำไปใช้สอนผู้ปกครอง โดยอาจารย์มีวัสดุให้ ได้แก่ ขวดน้ำ กระป๋อง กล่องกระดาษ ให้คิดสิ่งประดิษฐ์ใดก็ได้ที่แตกต่างไปจากเดิมแล้วนำเสนอาจารย์ว่าผ่านหรือไม่ ดิฉันเลือกประดิษฐ์บัวรดน้ำ

ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
           สามารถจัดกิจกรรมบูรณาการที่ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้โดยเลือกใช้วัสดุ อุปกรณื กิจกรรม หรือวิธีการที่หลากหลาย เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสริเริ่ม นำไปสู่ความคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่น และคิดละเอียดละออดได้ ด้านการประดิษฐ์สิ่งของสร้างสรรค์นั้นควรเป็นสิ่งที่คิดแตกต่างไปจากเดิมหรือสิ่งที่ยังไม่มีใครทำมาก่อน เพื่อเป็นไอเดียใหม่ๆ

การประเมิน
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนช่วยเหลือเพื่อน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการให้คำเเนะนำเป็นกันเองกับนักศึกษา


วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
วันจันทร์ ที่ 24 ตุลาคม 2559

*หยุดชดเชยวันปิยมหาราช

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันจันทร์ ที่ 17 ตุลาคม 2559

             เริ่มต้นการเรียนการสอนวันนี้ด้วยการทบทวนความรู้ เรื่องความคิดสร้างสรรค์ที่ได้เรียนไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คือ กิจกรรม 4 กิจกรรม
1 กิจกรรมเป่าฟองสบู่ เป็นงานศิลปะที่เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือการใช้ซันไลต์ทำให้เกิดฟองเมื่อนำไปเป่าลงบนกระดาษจะทำให้เกิดเป็นภาพสีต่างๆ 
2 กิจกรรมจานกระดาษ อันดับเเรกต้องคิดว่าจานกระดาษสามารถนำมาทำอะไรได้บ้าง จานกระดาษเหมือนอะไร เป็นต้น
3 พิมพ์มือภาพผีเสื้อ คล้ายๆกับกิจกรรมเป่าฟองสบู่ เเต่เปลี่ยนอุปกรณ์จากหลอดเป็นพู่กัน สามารถนำไปประยุกต์จัดประสบการณ์กับเด็กได้
4 ประดิษฐ์แมลง แล้วนำมาดึงเพื่อให้แมลงขยับ เด็กจะได้ทักษะการสังเกต การสังเกตการขยับเชือก
             ครูมีบทบาทในการเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ โดยมีเครื่องมืออุปกรณ์ที่หลากหลายในเด็กได้เกิดการเรียนรู้ มีความคิดริเริ่ม 
ความคิดริเริ่ม --------> การทำงานของสมอง
             เมื่อเด็กรับรู้สิ่งต่างๆ ทำให้เส้นใยสมองเเตกเยอะๆไปทับซ้อนกันเเละเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ เมื่อเด็กเรียนรู้แล้วนั้นคือเด็กมีการเปลี่ยนแปลง

              จากนั้นอาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น ให้นักศึกษาออกแบบตัวเลข 0-9  คนละ 1 ตัวเลข
เลข 9 เพราะนึกถึงรัชกาลที่ 9 เเละตรงกลางเป็นรูปหัวใจเเสดงถึงความจงรักภักดี
        เมื่อออกแบบเสร็จแล้วอาจารย์ให้นำกระดาษไปติดบนกระดานโดยเรียงเลข 0-9 ตามกลุ่มของตนเอง จากนั้นอาจารย์จะถามว่าการออกแบบตัวเลขนี้ได้มากจากอะไร


การที่จะให้เด็กออกแบบนั้นเด็กจะต้องมีประสบการณ์ โดย
- ออกแบบจากตาเห็นแล้วนำมาเทียบเคียง เช่นเลข 2 ลักษณะคล้ายห่านหรือเป็ด
- การออกแบบจากการรับรู้เรื่องคุณสมบัติแล้วนำมาใช้ เช่นเลข 3 นึกถึงน้ำเเข็งละลาย
- การออกเเบบเองโดยเปลี่ยนแปลงลักษณะ
- การออกเบบจากการคิดต่างจากเดิม
- การออกเบบจากความรู้สึกนึกคิด เช่นเลข 9 เพราะนึกถึงรัชกาลที่ 9 เเละตรงกลางเป็นรูปหัวใจเเสดงถึงความจงรักภักดี
*ภาพสะท้อนความรู้สึก ความคิด หรือสิ่งที่อยากจะบอกเล่า

          จากนั้นอาจารย์ก็นั่งตามกลุ่ม 0-9 แล้วนำรูปภาพมาระบายสีให้สวยงามแล้วตัดตัวเลขตามรูปออกมา อาจารย์เเจกกระดาษเเข็งให้กลุ่มละ 10 แผ่น เพื่อให้นักศึกษานำไปคิดกิจกรรม ออกเบบกิจกรรมให้กับเด็กเกี่ยวกับตัวเลขของกลุ่มตนเอง โดยจัดทำเป็นสื่อการสอนรูปแบบใดก็ได้ และเมื่อทำแล้วเด็กจะต้องได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้กับสื่อด้วย เมื่อปรึกษากันในกลุ่มเสร็จแล้วก็ออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน


กลุ่มเรา ใช้ไม้ไอติมแทนค่าตัวเลขเป็นรูปทรงเรขาคณิต ตามจำนวนรูปตัวเลข และมีเฉลยอยู่ในตัวเล่ม 

สื่อการสอน ติดภาพตัวเลขและใช้ไม้ไอติมแทนค่าจำนวนเป็นรูปเรขาคณิต
สื่อการสอน ใช้ไม้ไอติมแทนค่าจำนวนในตารางตามภาพตัวเลข
สื่อการสอน นิทานตัวเลขมหัศจรรย์

ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
           สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปจัดประสบการณ์ความคิดดสร้างสรรค์กับเด็กได้ โดยการให้เด็กได้ออกแบบตัวเลขของตนเอง เนื่องจากตัวเลขเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเราและเด็กก็มีประสบการณ์เกี่ยวกับตัวเลข อีกทั้งเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก เเละสามารถนำมาทำสื่อการสอนจากการใช้ตัวเลขได้โดยทำเป็นนิทาน เป็นเกมส์ เป็นต้น

การประเมิน
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำงานร่วมกันกับผู้อื่น
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจทำงาน ไม่พูดคุยกันเสียงดัง
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมน่าสนใจมาให้นักศึกษาได้เรียนรู้อยู่เสมอ

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
วันจันทร์ ที่ 10 ตุลาคม 2559

            เริ่มต้นการเรียนวันนี้กับอาจารย์จินตนา เนื่องจากวิชาการจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์มีอาจารย์ 2 ท่านที่เข้าสอน อาจารย์มีการทักทายและให้นักศึกษาปั๊มใบเข้าเรียนก่อนทีจะเริ่มเรียน


             อาจารย์มีการทบทวนความรู้เรื่องความคิดสร้างสรรค์ คือ คนที่จะมีความคิดสร้างสรรค์ จะต้องเป็นคนอารมณ์ดี คิดบวก คิดหาทางออกได้ และความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมอง ที่ได้คิดอย่างซับซ้อน กว้างไกล หลายทิศทาง การจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กนั้น ครูมีบทบาทในการจัดกิจกรรมให้เด็กอย่างหลากหลายทั้งวัสดุเเละวิธีการ เพื่อให้เด็กเห็นความเเตกต่างจากการสังเกต ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้มีโอกาสคิดริเริ่ม เพราะการเรียนรู้ของเด็กคือ การรับรู้ เปรียบเทียบ และนำมาจัดหมวดหมู่
บทบาทครู
- มีความเชื่อมั่น
- ยอมรับในความเเตกต่าง
- มองเห็นศักยภาพของเด็ก
- ไม่เปรียบเทียบเด็ก
           *วิธีการออกเเบบกิจกรรม นำมาจากหลักสูตร เริ่มจากกำหนดหน่วยก่อน หน่วยที่กำหนดมาจากสาระเเละประสบการณ์สำคัญ
องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
1. ความคิดริเริ่ม
2. ความคิดคล่องแคล่ว
3. ความคิดยืดหยุ่น
4. คิดละเอียดละออ
             แก้วกาแฟ เริ่มมาจาก กะลา กระบอกไม้ไผ่ เเล้วมาเป็น พลาสติก กลายมาเป็นกระดาษ กลายมาเป็นแก้ว เเละมีฝาปิด มีรูสำหรับใส่หลอด  สิ่งเหล่านี้คือความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้นทุกประเทศจึงต้องการคนที่มีความคิดสร้างสรรค์มาทำงานเพื่อพัฒนาองค์กร
*การเรียนเเบบบูรณาการสอดคล้องกับธรรมชาติผู้เรียนเพราะมันเชื่อมโยงกับการดำเนินชีวิตประจำวัน (STEAM)

กิจกรรมการเรียนการสอน
                  เเบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม และจัดฐานให้ไว้ 4 ฐาน ให้นักศึกษาทำทีละฐานเสร็จแล้วก็เปลี่ยนวนไปให้ครบทุกฐาน

ฐานที่ 1 เป่าสีฟองสบู่
            เป็นกิจกรรมที่ผสมสีกับน้ำยาล้างจาน เมื่อใช้หลอดจุ่มสีมาเป่าลงบนกระดาษทำให้เกิดฟองสบู่เป็นสีขึ้น และเมื่อฟองเเตกก็จะกลายเป็นสีวงกลมบนกระดาษ

ฐานที่ 2 วาดรูปเเมลง

              เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กวาดรูปแมลงลงบนกระดาษกลมๆและระบายสีให้สวยงาม เสร็จแล้ว เสร็จแล้วนำไปติดกับแกนกระดาษทิชชู่ที่เจาะรูด้วยเครื่องเจาะกระดาษ แล้วเอาเชือกร้อยผูกปมให้เรียบร้อย
แมลงเต่าทอง
ฐานที่ 3 พิมพ์มือผีเสื้อ
                  เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กทาสีลงบนมือทั้งสองข้าง แล้วนำมืไปทาบลงในกระดาษ จากนั้นตัดตามรอย พับกระดาษตกตแ่งให้สวยงาม แล้วตัดกระดาษเป็นเส้นยาวๆมาติดที่ด้านหลังปีกผีเสื้อท้งสองข้าง เพื่อให้ผีเสื้อขยับได้

ฐานที่ 4 ประดิษฐ์สื่อจากจานกระดาษ
       เป็นกิจกรรมที่ใช้จานกระดาษทำเป็นสื่ออะไรก็ได้ โดยสามารถนำมาปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ปรับใหม่ หรือเพิ่มเติมลงไป โดยต้องเกี่ยวข้องกับหลักการทางวิทยาศาสตร์และห้ามซ้ำกับเพื่อน โดยสื่อที่ประดิษฐ์คือ แมลงเต่าทองจากจานกระดาษ  เนื่องจากเห็นจานกระดาษเป็นแผ่นกลมอยู่แล้วเเละมองว่ามันเหมือนกับเเมลงเต่าทอง จึวาดและระบายสี ต่อเติมหนวดลงไป กลายเป็นแมลงเต่าทองนั่นเอง

ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
           สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปจัดประสบการณ์ความคิดดสร้างสรรค์กับเด็กได้ โดยมีเเนวทางในการคิดกิจกรรมเเละการเขียนเเผนการสอน การจัดกิจกรรมให้เด็กนั้นครูต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดริเริ่ม คือ ครูควรมีวิธีการที่หลากหลายที่จะจัดให้กับเด็ก 

การประเมิน
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำกิจกรรมจนครบทุกฐาน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจทำกิจกรรมกันเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับให้นักศึกษาทำกิจกรรม มีการทบทวนความรู้ให้นักศึกษาก่อนเริ่มเรียน



วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
วันจันทร์ ที่ 3 ตุลาคม 2559

กิจกรรมการเรียนการสอน
           วันนี้เป็นการทำกิจกรรม นำเสนอ STEM&STEAM ในแต่ละหน่วย ที่อาจารย์ได้มอบหมายให้นักศึกษาไปคิดกิจกรรมมา 6 กิจกรรม เมื่อสัปดาหาห์ที่แล้ว โดยทำการนำเสนอกลุ่มละ 30 นาที

กลุ่มที่ 1 หน่วยบ้าน
กิจกรรม สร้างบ้าน 
การบูรณาการ ศิลปะ(A) การออกเบบ(E) และคณิตศาสตร์(M)

อุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างบ้าน

บ้านของเราสไตล์ยุโรปค่ะ ><

กลุ่มที่ 2 หน่วยผลไม้
กิจกรรม ทำมงกุฎผลไม้
การบูรณาการ ศิลปะ(A) คณิตศาสตร์(M) และการออกเเบบ(E)

อุปกรณ์ที่ใช้ทำมงกุฎผลไม้
กลุ่มเราเลือกทำกล้วยหอมทองค่ะ (Banana)
นางเบบค่า สวยมากเลย ><


กลุ่มที่ 3 หน่วยยานพาหนะ
กิจกรรม ทำหุ่นนิ้วยานพาหหนะ
การบูรณาการ ศิลปะ(A) คณิตศาสตร์(M)

เครื่องบินสุดเก๋

กลุ่มที่ 4 หน่วยผลไม้
กิจกรรม โมบายผลไม้
การบูรณาการ ศิลปะ(A) และการออกแบบ(E)


กลุ่มที่5 หน่วยปลา
กิจกรรม ตกแต่งจานกระดาษ
การบูรณาการ ศิลปะ(A) การออกแบบ(E) และคณิตศาสตร์(M)

ปลาหลากหลายชนิด

กลุ่มที่ 6 หน่วยไข่
กิจกรรม ไข่ล้มลุก
การบูรณาการ ศิลปะ(A) และคณิตศาสตร์(M)



ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
           มีความรู้เรื่องการบูรณาการ STEM&STEAM การจัดกิจกรรมที่บูรณาการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การออกเบบ ศิลปะ และคณิตศาสตร์ เข้าด้วยกันไว้ในหนึ่งกิจกรรม สามารถจัดการเรียนรู้ได้หลากหลายในแต่ละหน่วย ช่วยส่งเสริมด้านความคิดสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี

การประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำกิจกรรม เข้าเรียนตรงเวลา (อาจารย์บอกว่าสำคัญเพราะในอนาคตต้องไปเป็นนักศึกษาฝึกสอน)
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนให้ความร่วมมือ ตั้งใจทำกิจกรรมกันเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการเตรียมวัสดุอุปกรณ์พร้อมสำหรับให้นักศึกษาทำกิจกรรม สัปดาห์ต่อไปก็ไม่ได้เจออาจารย์ในการสอนนี้แล้ว เเย่จัง อาจารย์เป็นอาจารย์ที่ดีมากค่ะ >.<