วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันจันทร์ ที่ 17 ตุลาคม 2559

             เริ่มต้นการเรียนการสอนวันนี้ด้วยการทบทวนความรู้ เรื่องความคิดสร้างสรรค์ที่ได้เรียนไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คือ กิจกรรม 4 กิจกรรม
1 กิจกรรมเป่าฟองสบู่ เป็นงานศิลปะที่เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือการใช้ซันไลต์ทำให้เกิดฟองเมื่อนำไปเป่าลงบนกระดาษจะทำให้เกิดเป็นภาพสีต่างๆ 
2 กิจกรรมจานกระดาษ อันดับเเรกต้องคิดว่าจานกระดาษสามารถนำมาทำอะไรได้บ้าง จานกระดาษเหมือนอะไร เป็นต้น
3 พิมพ์มือภาพผีเสื้อ คล้ายๆกับกิจกรรมเป่าฟองสบู่ เเต่เปลี่ยนอุปกรณ์จากหลอดเป็นพู่กัน สามารถนำไปประยุกต์จัดประสบการณ์กับเด็กได้
4 ประดิษฐ์แมลง แล้วนำมาดึงเพื่อให้แมลงขยับ เด็กจะได้ทักษะการสังเกต การสังเกตการขยับเชือก
             ครูมีบทบาทในการเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ โดยมีเครื่องมืออุปกรณ์ที่หลากหลายในเด็กได้เกิดการเรียนรู้ มีความคิดริเริ่ม 
ความคิดริเริ่ม --------> การทำงานของสมอง
             เมื่อเด็กรับรู้สิ่งต่างๆ ทำให้เส้นใยสมองเเตกเยอะๆไปทับซ้อนกันเเละเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ เมื่อเด็กเรียนรู้แล้วนั้นคือเด็กมีการเปลี่ยนแปลง

              จากนั้นอาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น ให้นักศึกษาออกแบบตัวเลข 0-9  คนละ 1 ตัวเลข
เลข 9 เพราะนึกถึงรัชกาลที่ 9 เเละตรงกลางเป็นรูปหัวใจเเสดงถึงความจงรักภักดี
        เมื่อออกแบบเสร็จแล้วอาจารย์ให้นำกระดาษไปติดบนกระดานโดยเรียงเลข 0-9 ตามกลุ่มของตนเอง จากนั้นอาจารย์จะถามว่าการออกแบบตัวเลขนี้ได้มากจากอะไร


การที่จะให้เด็กออกแบบนั้นเด็กจะต้องมีประสบการณ์ โดย
- ออกแบบจากตาเห็นแล้วนำมาเทียบเคียง เช่นเลข 2 ลักษณะคล้ายห่านหรือเป็ด
- การออกแบบจากการรับรู้เรื่องคุณสมบัติแล้วนำมาใช้ เช่นเลข 3 นึกถึงน้ำเเข็งละลาย
- การออกเเบบเองโดยเปลี่ยนแปลงลักษณะ
- การออกเบบจากการคิดต่างจากเดิม
- การออกเบบจากความรู้สึกนึกคิด เช่นเลข 9 เพราะนึกถึงรัชกาลที่ 9 เเละตรงกลางเป็นรูปหัวใจเเสดงถึงความจงรักภักดี
*ภาพสะท้อนความรู้สึก ความคิด หรือสิ่งที่อยากจะบอกเล่า

          จากนั้นอาจารย์ก็นั่งตามกลุ่ม 0-9 แล้วนำรูปภาพมาระบายสีให้สวยงามแล้วตัดตัวเลขตามรูปออกมา อาจารย์เเจกกระดาษเเข็งให้กลุ่มละ 10 แผ่น เพื่อให้นักศึกษานำไปคิดกิจกรรม ออกเบบกิจกรรมให้กับเด็กเกี่ยวกับตัวเลขของกลุ่มตนเอง โดยจัดทำเป็นสื่อการสอนรูปแบบใดก็ได้ และเมื่อทำแล้วเด็กจะต้องได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้กับสื่อด้วย เมื่อปรึกษากันในกลุ่มเสร็จแล้วก็ออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน


กลุ่มเรา ใช้ไม้ไอติมแทนค่าตัวเลขเป็นรูปทรงเรขาคณิต ตามจำนวนรูปตัวเลข และมีเฉลยอยู่ในตัวเล่ม 

สื่อการสอน ติดภาพตัวเลขและใช้ไม้ไอติมแทนค่าจำนวนเป็นรูปเรขาคณิต
สื่อการสอน ใช้ไม้ไอติมแทนค่าจำนวนในตารางตามภาพตัวเลข
สื่อการสอน นิทานตัวเลขมหัศจรรย์

ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
           สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปจัดประสบการณ์ความคิดดสร้างสรรค์กับเด็กได้ โดยการให้เด็กได้ออกแบบตัวเลขของตนเอง เนื่องจากตัวเลขเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเราและเด็กก็มีประสบการณ์เกี่ยวกับตัวเลข อีกทั้งเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก เเละสามารถนำมาทำสื่อการสอนจากการใช้ตัวเลขได้โดยทำเป็นนิทาน เป็นเกมส์ เป็นต้น

การประเมิน
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำงานร่วมกันกับผู้อื่น
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจทำงาน ไม่พูดคุยกันเสียงดัง
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมน่าสนใจมาให้นักศึกษาได้เรียนรู้อยู่เสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น