บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
วันจันทร์ ที่ 14 พฤศจิกายน 2559
เนื้อหาการเรียนการสอน
วันนี้อาจารย์ทบทวนความรู้ เรื่องความคิดสร้างสรรค์ตั้งเเต่สัปดาห์ที่ได้เริ่มเรียน สัปดาห์ที่ 1 คือ ความหมายและองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ที่บูรณาการวิทยาศาสตร์ สัปดาห์ที่ 2 ความคิดสร้างสรรค์ที่บูรณาการคณิตศาสตร์ คือ การออกแบบตัวเลข สัปดาห์ที่ 3 สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ สัปดาห์ที่ 4 สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้
ความคิดสร้างสรรค์ เริ่มต้นจากการมีประสบการณ์ ประสบการณ์มีผลต่อจินตนาการและความคิด เช่น อาจารย์ให้นักศึกษาบอกสิ่งที่เรานึกถึงเกี่ยวกับภูเขา
ภูเขา = สามเหลี่ยม นม กระดองเต่า ต้นไม้ ดิน หิน น้ำ ป่า เเสงแดด
อาจารย์แบ่งการมองของนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม
1. กลุ่มที่มองเทียบเคียง เช่น นม สามเหลี่ยม
2. กลุ่มที่มองเกี่ยวกับข้างในภูเขา เช่น ต้นไม้ ดิน
ต่อมาอาจารย์ทบทวนความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษา โดยกำหนดคำมา 1 คำ แล้วให้นักศึกษาตอบ เช่น เบิก
เบิก = เบิกบาน เบิกบิล ภูทับเบิก
มะ = มะม่วง มะละกอ มะพร้าว มะเหมี่ยว
กระ/กะ = กระต่าย กระตั๋ว กระทะ กระทง กระทิง กระรอก
สิ่งเหล่านี้เป็นความคิดคล่องเเคล่ว หากมีประสบการณ์เยอะก็จะรู้เยอะและตอบได้เยอะ
การเคลื่อนไหวและจังหวะที่ส่งเสริมความคิดสร้างสสรรค์
1. เคลื่อนไหวประกอบเพลง
เช่น การเต้นแอโรบิค เด็กได้สร้างสรรค์ในการคิดท่าทาง
2. เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย
สร้างสรรค์ด้วยท่าทาง คำพูด จากจินตนาการของเด็ก
3. เคลื่อนไหวตามคำสั่ง
สร้างสรรค์ในเรื่องการเปลี่ยนทิศทาง เปลี่ยนระดับ และครูไม่ควรกำหนดคำสั่งที่เป็นคำสั่งตายตัวให้เด็ก
4. เคลื่อนไหวเเบบผู้นำผู้ตาม
เด็กที่ออกมาเป็นผู้นำจะสร้างสรรค์ท่าทางให้เพื่อนทำตาม
5. เคลื่อนไหวตามความจำ
เด็กได้สร้างสรรค์ท่าทาง ที่จะเคลื่อนไหวไปตามมุมที่ครูกำหนด
จังหวะมี 3 ระดับ คือ ระดับปกติ ระดับช้า และระดับเร็ว ระดับปกติเปรียบเสมือนการเต้นของหัวใจ
องค์ประกอบการเคลื่อนไหว ได้แก่ ระดับ ทิศทาง พื้นที่ การใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย
กิจกรรมการเรียนการสอน
กิจกรรมกลุ่ม อาจารย์ให้เเต่ละกลุ่มช่วยกันออกเบบกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ แลวออกมานำเสนอ
การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง
เคลื่อนไหวประกอบเพลง
เคลื่อนไหวเเบบผู้นำผู้ตาม
เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย
เคลื่อนไหวตามความจำ
ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
ได้รับความรู้เรื่องการจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์ ที่บูรณาการกับศาสตร์ต่างๆ คือ การเคลื่อนไหวและจังหวะที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ คือครูเป็นผู้เปิดโอกาสให้เด็กได้มีโอกาสคิดริเริ่ม ให้เด็กได้จินตนาการ สร้างสรรค์ออกเเบบท่าทางในการเคลื่อนไหวของเด็กเอง
การประเมิน
ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน เพื่อนไม่พูดคุยกันเสียงดัง ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์ อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการให้คำเเนะนำข้อเสนอแนะอยู่เสมอ