วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
วันพุธ ที่ 30 พฤศจิกายน 2559

            วันนี้อาจารย์นัดรวมกันทั้งสองเซคเพื่อพูดคุย โดยวันนี้อาจารย์มีสีเมจิกมาเเจกให้นักศึกษาคนละ 1 เเพ็ค พร้อมกับเเจกดาวเด็กดีและบอกแนวข้อสอบ




เเจกสีคนละ 1 เเพ็ค 

เเนวข้อสอบ

มอบรางวัลเด็กดี



วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
วันจันทร์ ที่ 21 พฤศจิกายน 2559

กิจกรรมการเรียนการสอน
                   อาจารย์ให้นักศึกษายืนเป็นวงกลม เพื่อที่ร้องเพลงรำวงเดินไปรอบๆแล้วจับกลุ่มกัน 5 คน เสร็จให้เเต่ละกลุ่มเเต่งนิทานแล้วออกมาเเสดงหน้าชั้นเรียน โดยมีโจทย์ว่า ถ้าสิ่งมีชีวิตพูดได้จะเกิดอะไรขึ้น

ภาพการเเสดงละครของเเต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่ 1 นิทานเรื่องถ้าฉันเดินได้

ข้อคิดของนิทาน คือ ทุกๆอย่งควรอยู่ในที่ที่เหมาะสมกับตนเอง เราไม่ควรเปลี่ยนในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ควรยอมรับข้อดีข้อเสียของตนเอง

กลุ่มที่ 2 นิทานเรื่อง ยีราฟคู่กระหายน้ำ

ข้อคิดของนิทาน คือ อย่าหวังในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง  ควรใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด

กลุ่มที่ 3 นิทานเรื่องป่ามหัศจรรย์

ข้อคิดจากนิทาน คือ บางสิ่งที่จำเป็นต่อเราหรือเป็นของคู่กับเราก็ควรจะนำมาใช้ เพราะเราต้องยอมรับว่ามันคือวัฏจักร

กลุ่มที่ 4 นิทานเรื่องเพื่อนรัก

ข้อคิดจากนิทาน คือ เพื่อนควรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ควรเห็นแก่ตัวเเละเอาเปรียบเพื่อน

กลุ่มที่ 5 นิทานเรื่องเจ้าหญิงกบ

ข้อคิดจากนิทาน เราควรภูมิใจกับสิ่งที่เรามีอยู่ ไม่ควรไปหาสิ่งใหม่ซึ่งอาจทำให้เราเดือดร้อนได้

            กิจกรรมต่อมาเป็นกิจกรรมทำจังหวะดนตรีจากตัวเราเองโดยไม่ใช้วัสดุสิ่งของแต่ใช้ส่วนต่างๆในร่างกายมาทำเป็นจังหวะเพลง โดยอาจารย์ให้จับกลุ่มรำวงเหมือนเดิม จะให้เเต่ละกลุ่มช่วยกันคิดเลือกเพลงมา 1 เพลง และทำดนตรีประกอบจังหวะเพลง

กลุ่มที่ 1 เพลงขอใจเเลกเบอร์โทร


กลุ่มที่ 2 เพลงทะเลเเสนงาม


กลุ่มที่ 3 เพลงอาบน้ำซู่ซ่า


กลุ่มที่ 4 เพลงพี่น้องกัน


กลุ่มที่ 5 เพลงนกกระจิบ


ความรู้ที่ได้รับและการนำไปใช้
                 ได้ความรู้เรื่องการเเต่งนิทานเพื่อนำไปบูรณาการกับความคิดสร้างสรรค์ รวมไปถึงการสร้างสรรค์ดนตรีจากการใช้ส่วนประกอบต่างๆในร่างกายให้เกิดเป็นเสียงเเละเป็นจังหวะ เป็นการประยุกต์ใช้หากไม่มีอุปกรณ์อีกด้วย

การประเมิน
ประเมินตนเอง แม้ไม่ได้ไปเรียนเเต่ก็พยายามศึกษาความรู้จากเพื่อน
ประเมินเพื่อน เพื่อนให้ข้อมูลและให้ความร่วมมือดีมาก
ประเมินอาจารย์ อาจารย์มีกิจกรรมดีๆมาให้ทำอยู่เสมอ

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
วันจันทร์ ที่ 14 พฤศจิกายน 2559
เนื้อหาการเรียนการสอน
           วันนี้อาจารย์ทบทวนความรู้ เรื่องความคิดสร้างสรรค์ตั้งเเต่สัปดาห์ที่ได้เริ่มเรียน สัปดาห์ที่ 1 คือ ความหมายและองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ที่บูรณาการวิทยาศาสตร์ สัปดาห์ที่ 2 ความคิดสร้างสรรค์ที่บูรณาการคณิตศาสตร์ คือ การออกแบบตัวเลข สัปดาห์ที่ 3 สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ สัปดาห์ที่ 4 สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้
                     ความคิดสร้างสรรค์ เริ่มต้นจากการมีประสบการณ์ ประสบการณ์มีผลต่อจินตนาการและความคิด เช่น อาจารย์ให้นักศึกษาบอกสิ่งที่เรานึกถึงเกี่ยวกับภูเขา
ภูเขา = สามเหลี่ยม นม กระดองเต่า ต้นไม้ ดิน หิน น้ำ ป่า เเสงแดด
อาจารย์แบ่งการมองของนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม
1. กลุ่มที่มองเทียบเคียง เช่น นม สามเหลี่ยม
2. กลุ่มที่มองเกี่ยวกับข้างในภูเขา เช่น ต้นไม้ ดิน
                      ต่อมาอาจารย์ทบทวนความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษา โดยกำหนดคำมา 1 คำ แล้วให้นักศึกษาตอบ เช่น เบิก
เบิก = เบิกบาน เบิกบิล ภูทับเบิก
มะ   = มะม่วง มะละกอ มะพร้าว มะเหมี่ยว
กระ/กะ = กระต่าย กระตั๋ว กระทะ กระทง กระทิง กระรอก
สิ่งเหล่านี้เป็นความคิดคล่องเเคล่ว หากมีประสบการณ์เยอะก็จะรู้เยอะและตอบได้เยอะ


การเคลื่อนไหวและจังหวะที่ส่งเสริมความคิดสร้างสสรรค์
1. เคลื่อนไหวประกอบเพลง 
    เช่น การเต้นแอโรบิค เด็กได้สร้างสรรค์ในการคิดท่าทาง
2. เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย 
     สร้างสรรค์ด้วยท่าทาง คำพูด จากจินตนาการของเด็ก
3. เคลื่อนไหวตามคำสั่ง 
    สร้างสรรค์ในเรื่องการเปลี่ยนทิศทาง เปลี่ยนระดับ และครูไม่ควรกำหนดคำสั่งที่เป็นคำสั่งตายตัวให้เด็ก
4. เคลื่อนไหวเเบบผู้นำผู้ตาม
    เด็กที่ออกมาเป็นผู้นำจะสร้างสรรค์ท่าทางให้เพื่อนทำตาม
5. เคลื่อนไหวตามความจำ
    เด็กได้สร้างสรรค์ท่าทาง ที่จะเคลื่อนไหวไปตามมุมที่ครูกำหนด

         จังหวะมี 3 ระดับ คือ ระดับปกติ ระดับช้า และระดับเร็ว ระดับปกติเปรียบเสมือนการเต้นของหัวใจ
องค์ประกอบการเคลื่อนไหว ได้แก่ ระดับ ทิศทาง พื้นที่ การใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย

กิจกรรมการเรียนการสอน
           กิจกรรมกลุ่ม อาจารย์ให้เเต่ละกลุ่มช่วยกันออกเบบกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ แลวออกมานำเสนอ



การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง

เคลื่อนไหวประกอบเพลง

เคลื่อนไหวเเบบผู้นำผู้ตาม

เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย

เคลื่อนไหวตามความจำ

ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
                ได้รับความรู้เรื่องการจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์ ที่บูรณาการกับศาสตร์ต่างๆ คือ การเคลื่อนไหวและจังหวะที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ คือครูเป็นผู้เปิดโอกาสให้เด็กได้มีโอกาสคิดริเริ่ม ให้เด็กได้จินตนาการ สร้างสรรค์ออกเเบบท่าทางในการเคลื่อนไหวของเด็กเอง
การประเมิน
ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน   เพื่อนไม่พูดคุยกันเสียงดัง ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์ อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการให้คำเเนะนำข้อเสนอแนะอยู่เสมอ


วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
วันจันทร์ ที่ 7 พฤษจิกายน 2559

เนื้อหาการเรียนรู้
           วันนี้เริ่มต้นการเรียนด้วยการนำเสนอสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้

บัวรดน้ำจากกระป๋อง

อุปกรณ์
 1. กระป๋อง
2. หลอดปั๊มน้ำ
3. ด้ามช้อน
4. ฝาขวดน้ำ
5. ฝาขวดน้ำ 3 ฝา
6. ขวดน้ำ
7. ไหมพรม
8. ค้อน
9. ตะปู
10. ปืนกาว

ขั้นตอนการทำ
1. เจาะกระป๋องเป็นรูปวงกลม ให้กว้างขนาดเท่าหลอดปั๊มน้ำ


2. นำหลอดปั๊มน้ำสอดเข้าไปในรูกระป๋องที่เจาะไว้เรียบร้อยแล้ว เชื่อมด้วยปืนกาว


3. นำกระป๋องไปพ่นสี


4. นำด้ามช้อนมาหักงอ ให้เป็นทรงดังรูป


5. พันด้วยไหมพรมเพื่อเก็บปลายให้เรียบร้อย


6. เมื่อสีแห้งแล้ว นำด้ามช้อนมาติดกับกระป๋องด้วยกาวร้อน


7. นำฝาขวดน้ำ 2 ฝาประกบกันด้วยกาวร้อน แล้วนำไปติดที่ปลายหลอด ปิดฝากระป๋องด้วยขวดน้ำผ่าครึ่งบนพันด้วยไหมพรม

โฮโลแกรม ภาพ 3 มิติ


เตาอบป็อบคอร์น

รถขับเคลื่อนด้วยหนังยาง

เตาปิ้งพกพา

โคมไฟ

ซิงค์ล้างจาน

เตาแก๊ส

หมวกจากกล่องนม


กระเป๋าจากกล่องนม

เครื่องคิดเงิน (แคชเชียร์)

ถังขยะจากขวดน้ำ

เสื่อจากกล่องนม

กล่องดินสอจากขวดพลาสติก

โต๊ะเขียนหนังสือ

ลิ้นชัก

กระเป๋าจากกล่องกระดาษ

ร้อยเชือกรองเท้า

พื้นทำความสะอาดรองเท้า

ฝาชีจากขวดน้ำ

ที่คาดผมจากฝาเปิดกระป๋อง

ตู้เย็นจากขวดน้ำ

เคสโทรศัพท์


         ต่อมาอาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น โดยให้คิดโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ของเราเอง โดยอาจารย์อธิบายว่า โจทย์มี 2 ลักษณะ คือ โจทย์ที่เป็นปัญหา และโจทย์ที่เป็นเป้าหมาย เช่น จะทำอย่างไรจึงจะมองเห็นภาพ 3 มิติ หรือ หากอยากกินกุ้งจะทำอย่างไรได้บ้าง หรือ ถ้าอยากให้เด็กมีประสบการณ์เรื่องการคิดเงินจะทำอย่างไรได้บ้าง เป็นต้น
บัวรดน้ำ = ถ้าอยากรดน้ำต้นไม้ เเต่ไม่มีที่รดน้ำต้นไม้ เราจะทำอย่างไรดี


           กิจกรรมสุดท้าย เป็นกิจกรรมการทำหนังสือตัวเลขที่เราได้ค้างไว้ วันนี้อาจารย์เตรียมวัสดุอุปกรณ์มาให้ เพื่อช่วยทำหนังสือตัวเลขกันในชั่วโมงเรียน




ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
                ได้รับความรู้เรื่องการประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุเหลือใช้อย่างหลากหลาย สิ่งประดิษฐ์บางชิ้นอาจมีอยู่แล้วหรือถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่ ทำให้เกิดประสบการณ์เกี่ยวกับการคิดริเริ่ม เเละการทำงานใดๆนั้นต้องคำนึงถึงการเลือกวัสดุให้เหมาะสมเเละคุ้มค่ามากที่สุด อีกทั้งการนำไปจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กต้องมีโจทย์ที่จะทำให้เด็กได้เกิดความคิดริเริ่มเพื่อนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ด้วย

การประเมิน
ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ตั้งใจนำเสนอผลงาน
ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจนำเสนองาน ไม่พูดคุยกันเสียงดัง
ประเมินอาจารย์ อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการเตรียมวัสดุอุปกรณ์มาให้นักศึกษาทำกิจกรรม